คำแนะนำสำหรับผู้เขียน
ดาวน์โหลดคำแนะนำสำหรับผู้เขียน [PDF File]
การเตรียมต้นฉบับ
ต้นฉบับพิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด (Microsoft Word) เวอร์ชั่น 2003 ขึ้นไป โดยใช้ตัวอักษร (Font) แบบ TH Sarabun PSK ทั้งฉบับ ขนาดตัวอักษร 16 เว้นขอบกระดาษด้านซ้ายและด้านขวา 1 นิ้ว ด้านบนและด้านล่าง 1 นิ้ว โดยความยาวของเรื่องพร้อมตารางและภาพประกอบรวมแล้วไม่เกิน 14 หน้ากระดาษ A4 โดยเว้นระยะห่าง 1 บรรทัด หากต้นฉบับที่จะส่งมีรูปภาพประกอบด้วยให้แทรกรูปภาพดังกล่าวในตำแหน่งที่เหมาะสมในต้นฉบับ ไม่มีการส่งคืนต้นฉบับในกรณีที่ไม่ผ่านการพิจารณาแต่จะแจ้งให้ทราบ
การจัดเตรียมและส่งต้นฉบับ
1. จัดส่งไฟล์ต้นฉบับ 2 ชุด คือ ไฟล์ MS Word และ ไฟล์ PDF พร้อมระบุเลขหน้า (มุมขวาบน) และระบุเลขบรรทัด (Line numbers) กำกับในต้นฉบับทุกหน้า
2. จัดรูปแบบไฟล์โดยแยกส่วนของบทคัดย่อ / Abstract / แยกจากบทนำ รวมทั้ง เอกสารอ้างอิง / รูปภาพ / ตาราง ไว้ส่วนท้าย โดยรูปภาพหรือตาราง ให้โดยระบุลำดับที่ต้องการแทรกไว้ในเนื้อหาและต้องใช้ตัวอักษร (Font) แบบ TH SarabunPSK ทั้งในรูปภาพและเนื้อหาตาราง
3. ระบุ E-mail address ที่สะดวกในการติดต่อประสานงานและติดตามสถานะบทความสำหรับการติดต่อในระบบวารสารฯ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นของ Corresponding author
หมายเหตุ : กรณีผู้แต่งจัดเตรียมต้นฉบับไม่ครบถ้วนตามข้อกำหนดข้างต้น กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขเรื่องที่จะส่งพิจารณาตีพิมพ์ตามเห็นสมควร และอาจส่งคืนต้นฉบับมายังผู้เขียนเพื่อแก้ไขหรือปรับปรุงเพิ่มเติมหรือไม่รับพิจารณาตีพิมพ์แล้วแต่กรณี
สามารถส่งบทความต้นฉบับเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร ได้ที่ www.jtiapnu.org
องค์ประกอบของบทความวิจัย
ชื่อเรื่อง (Title) | เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อเรื่องควรสอดคล้องและสื่อความหมายได้ดีกับเนื้อหาในเรื่อง | ชื่อผู้เขียน ผู้ร่วมเขียน และที่อยู่ (Author, co-authors and address) |
เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งสถานที่ทำงานที่ติดต่อได้สะดวก และกรุณาบอกหมายเลขโทรศัพท์ หรือโทรสารและ E-mail ของผู้รับผิดชอบ (Corresponding author) เพื่อความรวดเร็วในการติดต่อ |
บทคัดย่อ (Abstract) | มีความยาวไม่เกิน 300 คำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ | คำสำคัญ (Keywords) | เป็นคำหรือข้อความสั้นๆ ที่มีความหมายแสดงถึงความเป็นไปของการวิจัย ไม่เกิน 5 คำ ระบุอยู่ใต้บทคัดย่อ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ |
บทนำ (Introduction) | บรรยายที่มาและความสำคัญของปัญหา ควรมีการทบทวนวรรณกรรม (Literature review) ประกอบรวมทั้งอธิบายถึงจุดประสงค์ของการวิจัย |
วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ (Materials and Methods) |
อธิบายเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการที่ใช้ในการวิจัย หรือตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา กรณีที่เป็นการคิดค้นขึ้นใหม่ ควรอธิบายอย่างละเอียดถ้าเป็นวิธีการที่ทราบกันอยู่แล้วและเคยมีผู้ตีพิมพ์แล้วควรบรรยายในลักษณะอ้างอิง และอธิบายเฉพาะส่วนที่ดัดแปลงหรือเพิ่มเติมพร้อมทั้งวิธีวิเคราะห์ผลการทดลองทางสถิติ |
ผลการทดลอง (Results) | บรรยายผลการทดลองให้ละเอียดและเข้าใจง่าย หากเป็นไปได้ควรนำเสนอผลในรูปแบบตาราง รูปภาพ หรือกราฟ พร้อมคำอธิบายเหนือตารางและอธิบายรายละเอียดไว้ใต้รูปภาพ โดยเรียงตามลำดับให้สอดคล้องกับหมายเลขของรูปภาพ และตารางที่นำเสนอ ควรระบุความหมายของสัญลักษณ์ที่ใช้ ในกรณีที่กำหนดเครื่องหมายแสดงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ให้กำกับ P-value ที่ใช้ในการ วิเคราะห์ผลการทดลอง เช่น P-value, P<0.05 และ P>0.05 |
วิจารณ์ (Discussion) | วิจารณ์ผลการทดลองด้วยหลักการที่ออกมาจากผลการวิจัย และการเปรียบเทียบข้อมูล โดยควรเปรียบเทียบกับผลการทดลอง ของผู้วิจัยอื่น รวมถึงเน้นสิ่งที่ได้ค้นพบ ตลอดจนปัญหาข้อโต้แย้งที่อาจเกิดขึ้น |
สรุป (Conclusion) | สรุปประเด็นสำคัญ แนวทางหรือข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ประโยชน์รวมถึงคุณค่าของงานเพื่อผู้อ่านจะได้เข้าใจมากขึ้น | กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) | สำหรับแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัย ผู้ให้ความช่วยเหลือหรือความร่วมมือในการสนับสนุนงานค้นคว้าวิจัย | เอกสารอ้างอิง (References) | เขียนโดยใช้ระบบนาม-ปี เรียงตามลำดับอักษรและเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด |
การเขียนเอกสารอ้างอิงใช้ตาม APA style 7th
1.4.1 การอ้างอิงในเนื้อเรื่อง (In text citation) ให้ใช้ระบบนาม-ปี (Author-date citation system) โดยระบุชื่อผู้เขียนและปีที่พิมพ์ไว้ข้างหน้าหรือข้างท้ายข้อความที่ต้องการอ้างถึง เพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความนั้น ซึ่งมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1.4.1.1 กรณีอ้างอิงก่อนข้อความ ชื่อผู้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ให้เขียนเฉพาะนามสกุล (Last Name) เว้นวรรค ตามด้วยปีที่พิมพ์ภายในวงเล็บ เช่น Fryxell (1995).......................
1.4.1.2 กรณีอ้างอิงท้ายข้อความ ชื่อผู้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ให้เขียนเฉพาะนามสกุล (Last Name) ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) เว้นวรรคและปีที่พิมพ์ภายในวงเล็บ เช่น (Fryxell, 1995)
1.4.1.3 เรื่องที่มีผู้เขียน 2 คน ให้เชื่อมด้วย & เช่น Falconer & Mackay (1996)....../ (Falconer & Mackay, 1996)
1.4.1.4 เรื่องที่มีผู้เขียนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ให้เขียนนามสกุลเฉพาะคนแรกแล้วตามด้วย et al เช่น Komiyama et al. (2014)……/ (Komiyama et al., 2014)
1.4.1.5 เรื่องที่มีผู้เขียนเป็นหน่วยงานและมีชื่อย่อ เช่น American Psychological Association (APA, 2020)....../ (American Psychological Association [APA], 2020)
1.4.1.6 เรื่องที่มีผู้เขียนเป็นหน่วยงานไม่มีชื่อย่อ เช่น University of California (2020)....../ (University of California, 2020)
1.4.1.7 ข้อความที่มีเอกสารอ้างอิงมากกว่าหนึ่งเอกสารให้คั่นระหว่างผู้เขียนด้วยเครื่องหมาย “ ; ” และเรียงตามปี เช่น (Cui et al., 2006; Bagheri Sarvestani et al., 2013)
1.4.1.8 การอ้างอิงที่ไม่ได้อ้างจากต้นฉบับ แต่เป็นการอ้างต่อให้ใช้คำว่าอ้างถึงโดย (Cited by) เช่น (Smith et al., 2013 cited by Walker, 2010)
1.4.1.9 กรณีผู้เขียนคนเดียวกัน เสนอเอกสารปีเดียวกัน ให้กำกับตัวอักษรไว้ที่ปี เช่น (Walker, 1998a; 1998b)
1.4.2 การอ้างอิงท้ายบทความ (References)
1.4.2.1 เขียนเรียงรายการอ้างอิงตามตัวอักษรของนามสกุลผู้แต่งคนแรก
1.4.2.2 ชื่อผู้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ให้เขียนเฉพาะนามสกุล ตามด้วยตัวอักษรย่อของชื่อหน้า ชื่อกลาง (ถ้ามี) ปีที่พิมพ์ ชื่อบทความ ชื่อย่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ เลขหน้าและ DOI เช่น
Thongsaiklaing, T., Nipitwattanaphon, M., & Ngrnsisi, L. 2018. The transformer2 gene of the
pumpkin fruit fly, Bactrocera tau (Walker), functions in sex determination, male
fertility and testis development. Insect Mol. Biol. 27(6), 766-779. https://doi: 10.1111/imb.12517
1.4.2.3 กรณีอ้างอิงบทความจากอินเทอร์เน็ต (Internet) ให้ระบุชื่อผู้เขียน วัน เดือนและปีที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต (สืบค้นข้อมูลเมื่อ ปี-เดือน-วัน) ชื่อเรื่อง สำนักพิมพ์ เช่น
Machado, J., & Turner, K. (2020, March 7). The future of feminism. Vox.
https://www.vox.com/ identities/2020/3/7/21163193/international-womens-day-202
Center for Systems Science and Engineering. (2020, May 6). COVID-19 dashboard by the
Center for Systems Science and Engineering (CSSE) at Johns Hopkins University (JHU).
Johns Hopkins University & Medicine, Coronavirus Resource Center. Retrieved May 6,
2020, from https:// coronavirus.jhu.edu/map.html
1.4.2.4 กรณีอ้างอิงตำรา ให้ระบุชื่อผู้เขียนปีที่พิมพ์ ชื่อเรื่อง ชื่อตำรา ครั้งที่พิมพ์และชื่อบรรณาธิการ (หากมี) สำนักพิมพ์ เช่น
Gilbert, S. F. 2010. Developmental Biology. Sinauer Associated, Inc.
Robinson, P. H., Okine E. K., & Kennelly, J. J. 1992. Measurement of protein digestion in
ruminants. In: S. Nissen (Ed). Modern methods in protein nutrition and metabolism.
(p. 121-127). Academic Press.
1.4.2.5 กรณีอ้างอิงจากวิทยานิพนธ์ออนไลน์ ให้ระบุชื่อผู้เขียน ปีที่พิมพ์ ชื่อเรื่อง ชื่อมหาวิทยาลัยและเว็บไซต์ เช่น
Gerena, C. (2015). Positive Thinking in Dance: The Benefits of Positive Self-Talk Practice in
Conjunction with Somatic Exercises for Collegiate Dancers [Master’s thesis, University
of California Irvine]. University of California, eScholarship.
https://escholarship.org/uc/item/1t39b6g3
1.4.2.6 กรณีอ้างอิงบทความจากการประชุมวิชาการ (Conference proceedings) ให้ระบุชื่อผู้เขียน ปีที่พิมพ์ ชื่อเรื่อง ชื่อการประชุมวิชาการ สถานที่จัดประชุม วัน-เดือน-ปีที่ประชุม เช่น
Thongsaiklaing T. (2020, February 5-7). Identification of vitellogenin protein in hemolymph of
mud crab (Scylla serrata Forsskal, 1775) using LC MS/MS technique. The proceedings
of the 58th Kasetsart University annual conference “Inno-creation Thailand for
sustainable development goals (SDGs)”. Kasetsart University, Bangkok, Thailand.
1.4.2.7 หากเนื้อหาของเอกสารที่นำมาใช้อ้างอิงที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ให้เขียนอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษพร้อมระบุภาษาที่ใช้เขียนในบทความนั้นๆ ไว้ในวงเล็บด้านท้ายสุดของรายการเอกสารอ้างอิงนั้น เช่น
Datumada, H., & Thongsaiklaing, T. 2021. 22 bp INDEL mutation polymorphism of dopamine
receptor D2 (DRD2) gene of Thai native chicken in Narathiwat province. Journal of
Mahanakorn Veterinary Medicine 15(2): 189-197. (in Thai)